วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สาขาวิชาเว็บและโมบายเทคโนโลยี

สาขาวิชาเว็บและโมบายเทคโนโลยี

Web and Mobile Technology

 รายละเอียดหลักสูตร ฉบับปีการศึกษา 2556 (เว็บและโมบายเทคโนโลยี) 

 รายละเอียดหลักสูตร ฉบับปีการศึกษา 2554 (การออกแบบเว็บและเนื้อหา)  

การเติบโตอย่างต่อเนื่องของเทคโลยีอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์เคลื่อนที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งในชีวิตประจำวันและในโลกธุรกิจ ช่วยให้ผู้คนใกล้ชิดกันมากขึ้นผ่านทาง Social Network เช่น Facebook และ Twitter รวมทั้งก่อให้เกิดธุรกิจรูปแบบใหม่ที่สร้างผลกำไรอย่างมหาศาล เช่น Instagram, Ensogo และ Amazon โลกถูกย่อให้เล็กลงทำให้เราสามารถรับรู้ความเปลี่ยนแปลงและเป็นไปเป็นไปได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านทางอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น Smart Phone และ Tablet PC
ความสำเร็จของนวัตกรรมเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากปราศจากบุคลากรที่รู้เท่าทันและมีความชำนาญในด้านการเทคโนโลยีเว็บและโมบาย

จุดเด่นของหลักสูตร

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้พัฒนาหลักสูตรเว็บและโมบายเทคโนโลยี (Web and Mobile Technology) แห่งแรกของประเทศไทย ที่ครอบคลุมองค์ความรู้ด้านการออกแบบ การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บและโมบาย รวมถึงการประกอบธุรกิจออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วยองค์ความรู้ใน 3 ส่วนหลัก ได้แก่
  1. การออกแบบ: ประกอบไปด้วยรายวิชาที่จำเป็นต่อการออกแบบ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่สวยงาม มีความคิดสร้างสรรค์ และตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้
  2. การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์: ประกอบไปด้วยรายวิชาที่จำเป็นต่อการพัฒนาระบบงานบนเว็บและโมบาย การเขียนโปรแกรมตั้งแต่ระดับพื้นฐานถึงขั้นสูง ซึ่งสามารถปฏิสัมพันธ์ (Interact) กับผู้ใช้ สามารถใช้งานได้จริง ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง และปลอดภัย
  3. การเป็นผู้ประกอบการ: ประกอบไปด้วยรายวิชาที่เป็นประโยชน์ต่อการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

รายวิชาที่น่าสนใจ

ด้านการออกแบบ
  • ทฤษฎีศิลป์ (Art Theory)
  • เทคโนโลยีศิลป์ (Art Technology)
  • การออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (User Interface Design)
  • การใช้เครื่องมือสร้างแอนิเมชั่น 2 มิติ (2D Animation and Tools)
  • การใช้เครื่องมือสร้างแอนิเมชั่น 3 มิติ (3D Animation and Tools)
  • การพัฒนาเว็บ 3 มิติ (3D Web Development)
ด้านการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการโปรแกรม (Introduction to Programming)
  • การโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์เบื้องต้น (Introduction to the Object-Oriented Programming)
  • การพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Development)
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีเว็บและโมบาย (Introduction to Web and Mobile Technology)
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการโปรแกรมเว็บ (Introduction to Web Programming)
  • การโปรแกรมเว็บขั้นสูง (Advanced Web Programming)
  • การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Application Development for Mobile Devices)
  • การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ขั้นสูง (Advanced Mobile Application Development for Mobile Devices)
  • การโปรแกรมเกมสำหรับโมบาย (Mobile Game Programming)
  • วิศวกรรมเว็บ (Web Engineering)
  • เทคโนโลยีเว็บเซอร์วิส (Web Services Technology)
ด้านการประกอบธุรกิจออนไลน์
  • การทำเหมืองเว็บ (Web Mining)
  • การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce)
  • การตลาดอินเทอร์เน็ต (Internet Marketing)
  • เทคนิคการนำเสนอผลงาน (Presentation Techniques)

อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • นักออกแบบเว็บ (Web Designer)
  • นักพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนเว็บ (Web Programmer)
  • วิศวกรเว็บ (Web Engineer)
  • นักพัฒนาเกมส์ออนไลน์ (Online Game Developer)
  • นักพัฒนาเกมส์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Game Developer)
  • นักพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Application Developer)
  • ผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ (Online Business Owner)
  • นักเขียนบทความออนไลน์ (Online Columnist)
  • บล็อกเกอร์ (Blogger)
  • ผู้จัดการสื่อประชาสัมพันธ์ (Media Manager)

เว็บไซต์

เว็บไซต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หน้าหนึ่งในเว็บไซต์วิกิพีเดีย
เว็บไซต์ (อังกฤษWebsite, Web site หรือ Site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์
เว็บไซต์แห่งแรกของโลกถูกสร้างขึ้นเมื่อ 30 เมษายน พ.ศ. 2536 โดยวิศวกรของเซิร์น[1]

คำว่า เว็บไซต์ ในภาษาอังกฤษ[แก้]

ในภาษาอังกฤษ มีการสะกดคำว่า เว็บไซต์หลายแบบ ตั้งแต่ Web site, website และ web site เริ่มแรกสุดคำว่าเว็บไซต์นั้น สะกดด้วยการแยกคำ และใช้ตัว W พิมพ์ใหญ่ เป็น Web site เนื่องจากคำว่า "Web" เป็นคำนามเฉพาะ ย่อมาจากคำว่า "World Wide Web" ดังนั้นจึงใช้คำว่า "Web site" ซึ่งสามารถเห็นได้ทั่วไปตามสื่อมวลชน และพจนานุกรมภาษาอังกฤษ และภายหลังได้มี คำว่า "web site" และ "website"(เว็บไซต์)

ประวัติการพัฒนาเว็บไซต์และซอฟต์แวร์[แก้]

ลำดับประวัติการพัฒนาเว็บไซต์



ความหมายของเว็บไซต์ และเว็บเพจ



เว็บไซต์

       เว็บไซต์ (อังกฤษ: website, web site, Web site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์


โฮมเพจ

     โฮมเพจ (Home Page) คือเว็บเพจหน้าแรกซึ่งเป็นทางเข้าหลักของเว็บไซต์  ปกติเว็บเพจทุกๆ หน้าในเว็บไซท์จะถูกลิงค์ (โดยตรงหรือโดยอ้อมก็ตาม) มาจากโฮมเพจ  ดังนั้นบางครั้งจึงมีผู้ใช้คำว่าโฮมเพจโดยหมายถึงเว็บไซท์ทั้งหมด  แต่ความจริงแล้วโฮมเพจหมายถึงหน้าแรกเท่านั้น  ถ้าเปรียบกับร้านค้า โฮมเพจก็เป็นเสมือนหน้าร้านนั่นเอง  ดังนั้นจึงมักถูกออกแบบให้โดดเด่นและน่าสนใจมากที่สุด


เว็บเพจ

     เว็บเพจ (Web Page) หมายถึง  หน้าเอกสารของบริการ  WWW  ซึ่งตามปกติจะถูกเก็บอยู่ในรูปแบบไฟล์ HTML (Hyper Text Markup Language)  โดยไฟล์  HTML  1  ไฟล์ก็คือเว็บเพจ  1  หน้านั่นเอง  ภายในเว็บเพจอาจประกอบไปด้วยข้อความ  ภาพ  เสียง วิดีโอ  และภาพเคลื่อนไหวแบบมัลติมีเดีย  นอกจากนี้เว็บเพจแต่ละหน้าจะมีการเชื่อมโยงหรือ “ลิงค์” (Link)  กัน เพื่อให้ผู้ชมเรียกดูเอกสารหน้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้สะดวกอีกด้วย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น